วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /…
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แรงและความดัน เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่…. ธันวาคม 2552
...........................................................................................
1. สาระสำคัญ
แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุสองชิ้น เป็นแรงซึ่งผิววัตถุหนึ่งต้านทานการเคลื่อนที่ของผิววัตถุอีกผิวหนึ่ง ขนาดของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับผิวสัมผัส แรงเสียดทานมีทั้งผลดีและผลเสีย และแรงเสียดทานมีประโยชน์ เช่น ในการเดินต้องอาศัยแรงเสียดทาน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนอธิบายแรงเสียดทานได้
2.2 นักเรียนอธิบายขนาดของแรงเสียดทานได้

3.สาระการเรียนรู้
แรงเสียดทาน
ขนาดของแรงเสียดทาน

4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดทำนักเรียน โดยให้นักเรียนร้องเพลงนับเลข โดยครูร้องนำ
เพลงนับเลข
มาเถิดเรามา มาร่วม ร้องเพลงกัน พวกเราทั้งนั้นมาสุขสันต์กันเราสิ
แล้วเราก็มา หันหน้า หากัน แล้วยิ้มให้กัน นับเป็นไทย 5 ที 1 2 3 4 5





4.2 ยกตัวอย่างสถานการณ์ คือ ถ้านักเรียนโยนบอลให้กลิ้งไปกับพื้นที่เป็นสนามหญ้า และพื้นที่เป็นสนามปูนซีเมนต์เรียบ ๆ ด้วยแรงเท่า ๆ กัน แล้วครูตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
- ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าลูกบอลมีลักษณะการเคลื่อนที่อย่างไร
- ลูกบอลที่กลิ้งไปกับพื้นหญ้า และพื้นปูนซีเมนต์แตกต่างกันอย่างไร
- ลูกบอลลูกใดหยุดก่อน เพาระเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
4.3 ครูอธิบายเรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน ครูยกตัวอย่างการเตะลูกบอลกลิ้งไปบนพื้น จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวของลูกบอลกับพื้นสนาม ครูแจกใบความรู้เรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน ให้นักเรียนจดบันทึกลงสมุด ครูตั้งคำถามให้นักเรียนอธิบาย โดยวิธีการสุ่มถามตามเลขที่ ดังนี้
- แรงเสียดทานหมายถึงอะไร
- ขนาดของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอะไร
- วัตถุที่เคลื่อนที่ได้ไกลแสดงว่ามีแรงเสียดทานมากหรือน้อย
- วัตถุที่เคลื่อนที่ได้ใกล้แสดงว่ามีแรงเสียดทานมากหรือน้อย
- นักเรียนคิดว่าพื้นเปียกมีแรงเสียดทานมากหรือน้อย
4.4 ครูให้นักเรียน ยกตัวอย่างแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตนเอง แล้วบันทึกข้อมูล
4.5 นักเรียนปฏิบัติภาระงานที่กำหนด โดยให้ทำเป็นรายบุคคล แล้วบันทึกลงในใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง แรงเสียดทาน
4.6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ออกมานำเสนอ ตัวอย่างแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตนเอง ที่หน้าชั้นเรียน โดยวิธีการสุ่มตามเลขที่
4.7 ฝึก ทำแบบฝึกหัด เรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน ทำเป็นรายบุคคลลงในใบกำหนดงานที่ 2
4.8 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องแรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน ประเมินผล สรุปผลและเพิ่มเติมเนื้อหา

5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน
2. ใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง แรงเสียดทาน
3. ใบกำหนดงานที่ 2 แบบฝึกหัด เรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน
4. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป. 5

6. การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายแรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน โดยตรวจผลการเขียนอธิบายแรงเสียดทานและแบบฝึกหัด ลงในสมุดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง

7. การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายแรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน พบว่านักเรียน.........คนอธิบายแรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป. 5 เรื่อง แรงเสียดทานและขนาดของแรงเสียดทาน เพิ่มเติม และทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม

8. บันทึกหลังสอน…………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………